วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) 

          คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยรับเข้าหน่วยส่งออกหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
    1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
    2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
    3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
              ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น


    • ระบบปฏิบัติการ 
                    ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) 
                 1. ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ 
                2. วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
                 3. โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
                4. ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
                 ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
      ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งาน สามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ
      1. ประเภทใช้งานเดียว (Single -tasking)ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
      2. ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking)ระบบปฏิัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการWindows 98ขึ้นไปและUnixเป็นต้น
      3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานสำเร็จในเวลา เช่นระบบปฏิบัติการ WindowsNT และ Unix เป็นต้น

    • ตัวแปลภาษา
               ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
                ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
    1. ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
    2. ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
    3. ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
    4. ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
                  นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี

    ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์       
          - แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็นสองประเภท  คือ
    1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
    2 .ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ(Customized Packaged) และโปรแกรมมาตรฐาน (Standard Packaged)
            
           - แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
    1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Businesse)
    2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Maltiwedia)
    3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Wed and Communications) 

               กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Businesse) ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวัง
    ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์ รายงานเอกสาร นำเสนองาน และบันทึกนัดหมายต่างๆตัวอย่าง เช่น
    - โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Sun Straoffice Writer
    - โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsfot Excel,Sun Straoffice Cals
    - โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsfot Powerponit,Sun Staroffice Impress
               กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย ซอฟต์แวร์กลุ่มนี่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยการจัดงานด้านกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ติดต่อภาพเคลือนไหวและการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่าง เช่น
    - โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
    - โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Coreidraw addobe Photoshop
    - โปรแกรม ตัดต่อวีดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premive,Pinnacle Studio DV
    - โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware,Tooibook Instructor,Adobe Dreamweaver
                        กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร เมื่อเกิดกราเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจสอบเช็คอีเมล การท่อเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความสื่ิสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างในกลุ่มนี้ได้แก่
             - โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft outllook ,Mozzila Thunderbied
             - โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorr, Mozzila Firefox
             - โปรแกรมประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting
             - โปรแกรมส่งข้อความด่วน(Instant Messaging)อาทิ MSN Messenger/Windows Meesaging,ICQ
             - โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PURCH ,MIRCH


    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น